รากฟันเทียม แตกต่างกับ การรักษารากฟัน อย่างไร ?

dental implant

รู้หรือไม่ว่า รากฟันเทียม กับ การรักษารากฟัน นั้นแตกต่างกัน ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้มักเป็นสิ่งที่หลายๆ คนเข้าใจผิดว่าเป็นสิ่งเดียวกัน วันนี้ BFC Dental จะมาสรุปความแตกต่างระหว่างรากฟันเทียมและการรักษาฟัน พร้อมแนะนำสิ่งที่ต้องคำนึงถึงหากจำเป็นต้องทำรากฟันเทียมมาให้ทุกคนได้ทราบกัน

ทำความรู้จัก รากฟันเทียม

รากฟันเทียม มีรูปร่างคล้ายรากฟันใช้สำหรับฝังลงไปในกระดูกขากรรไกรเพื่อช่วยในการทำฟันเทียมทั้งแบบติดแน่นและแบบถอดได้ ทำหน้าที่ทดแทนรากฟันธรรมชาติเพื่อรองรับทันตกรรมฟันปลอม (denture), ครอบฟัน (crown) หรือสะพานฟัน (bridge) ซึ่งผู้ที่เข้ารับการทำรากฟันเทียมจะต้องมีเหงือกที่แข็งแรงและมีกระดูกเพียงพอสำหรับรองรับรากฟันเทียม แต่ถ้าหากมีกระดูกไม่เพียงพอก็อาจจะต้องทำการปลูกถ่ายกระดูกก่อน

ทำความรู้จัก การรักษารากฟัน

การรักษารากฟัน จะเป็นการรักษาฟันผุที่มีขนาดใหญ่จะทะลุโพรงประสาทฟัน หรือเป็นฟันที่มีรอยร้าว ฟันแตก ฟันหัก หรือฟันที่สึกจนทะลุโพรงประสาทฟัน หรือไม่ก็เป็นฟันที่ได้รับแรงกระแทกจากอุบัติเหตุ ซึ่งฟันที่ทำการรักษารากฟันแล้วก็สามารถดูแลรักษาฟันได้เช่นเดียวกับฟันที่ปกติ ซึ่งไม่ควรใช้งานบดเคี้ยวอาหารที่มีลักษณะเป็นของแข็งในช่วงแรก

สรุปแล้ว รากฟันเทียม แตกต่างกับ การรักษารากฟัน อย่างไร

การทำรากฟันเทียมนั้นคนไข้จะต้องทำการถอนฟันออกไปก่อน และต้องใส่ฟันใหม่เพื่อทดแทน โดยการทำรากเทียมจะเป็นการทดแทนฟันที่หายไป ส่วนการรักษารากฟันคือคนไข้ยังมีรากฟันอยู่ ฟันยังใช้การต่อไปได้ เพียงแต่มีการบาดเจ็บเกิดขึ้นหรือมีการติดเชื้อเท่านั้นเองทำให้ต้องมารักษา

dental implant

รากฟันเทียม เหมาะกับใคร ?

  • ผู้ที่ต้องถอนฟันธรรมชาติทิ้ง เนื่องจากฟันซี่นั้นไม่สามารถทำการรักษาด้วยการรักษารากฟันได้แล้ว
  • ผู้ที่ต้องการทดแทนฟันที่เหลืออยู่ แต่มีสุขภาพฟันไม่แข็งแรง
  • ผู้ที่สูญเสียฟันแท้ ต้องการการบดเคี้ยวที่ดี
  • ผู้ที่เคยทำฟันปลอมแบบถอดได้ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
  • ผู้ที่ต้องการเพิ่มความมั่นใจให้ตนเอง

ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่าย เนื่องจากการทำรากฟันเทียมในปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง แต่ก็มีคุณภาพที่ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมากอีกทั้งยังใช้งานได้นาน ทั้งนี้ตัวของคนไข้เองก็สำคัญ ทั้งเรื่องอาการผ่าตัดที่จะมีความเจ็บเกิดขึ้นหลังการทำหรือมีเลือดออก และหากใครมีโรคประจำตัวก็จะต้องแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบเพื่อจะได้พิจารณาว่าโรคนั้นๆจะส่งผลการหายของแผลหลังการทำรากฟันเทียมเสร็จสิ้นรวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นมากน้อยอย่างไร

Recommended Posts