เปรียบเทียบ รากฟันเทียม กับ ฟันปลอม แตกต่างกันแค่ไหน แบบไหนดีกว่ากัน

รากฟันเทียม กับ ฟันปลอม ต่างกันไหม? ใครเหมาะกับแบบไหนมากกว่ากัน? วันนี้ BFC Dental จะอธิบายให้ฟัง

เมื่อต้องสูญเสียฟันไม่ว่าจะด้วยจากสาเหตุใดก็ตาม หลายๆ คนอาจจะพบปัญหามากมายจากการใช้ชีวิตประจำวัน จากหลักๆ ที่สามารถเห็นได้ชัดเลยก็คือ การรับประทานอาหาร สำหรับบางคนที่สูญเสียฟันซี่ที่ไม่มีผลต่อการบดเคี้ยวมากก็อาจจะมองว่าไม่ใช่ปัญหาใหญ่มากนัก แต่สำหรับผู้ที่เสียฟันที่อยู่ในตำแหน่งบดเคี้ยว เช่น ฟันตัด ฟันกราม ซึ่งแน่นอนว่าการเสียฟันในตำแหน่งดังกล่าวไปทำให้การกัดหรือการเคี้ยวค่อนข้างยากลำบาก และทางแก้ปัญหาในการทดแทนฟันที่สูญเสียไปที่คนส่วนใหญ่จะนึกถึงคือการทำฟันปลอมนั่นเอง

“ฟันปลอมมีกี่ประเภทกันนะ?”

 

ฟันปลอมชนิดถอดได้

รากฟันเทียม

ฟันปลอมชนิดถอดได้สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ฟันปลอมทั้งปากสำหรับผู้ที่สูญเสียฟันธรรมชาติไปหมดทั้งปาก ฟันปลอมชนิดนี้จะประกอบไปด้วยตัวฟันปลอมที่สีเหมือนฟันจริงและมีฐานฟันเป็นอะคริลิกซึ่งมีสีและลักษณะเหมือนเหงือก โดยส่วนมากจะพบกับผู้สูงอายุ และอีกประเภทคือ ฟันปลอมแบบบางซี่ สำหรับผู้ที่มีฟันในตำแหน่งที่สำคัญๆ ทั้งฟันล่างและฟันบนมากกว่า 1 ซี่ เช่น ยังพอมีฟันกรามเพื่อให้สามารถยึดฟันปลอมที่ต้องการใส่ได้ ซึ่งฟันปลอมนี้นอกจากทำหน้าที่เติมเต็มฟันที่สูญเสียไปแล้วนั้น ยังสามารถช่วยป้องกันการเคลื่อนที่ของฟันที่จะเคลื่อนไปในตำแหน่งอื่นอีกด้วย ข้อดีของฟันปลอมประเภทนี้คือ สามารถถอดออกเพื่อทำความสะอาดได้ง่าย ด้วยการปลดตะขอของฟันปลอมที่ยึดกับฟันธรรมชาติไว้ และมีสีฟันที่ใกล้เคียงกับสีธรรมชาติทำให้ไม่รู้สึกแตกต่างมากระหว่างฟันแท้กับฟันปลอม แต่ข้อเสียของฟันปลอมชนิดนี้คือ จะปรับตัวค่อนข้างยากเมื่อใส่ฟันปลอมในช่วงแรก จะรู้สึกมีอะไรขยับอยู่ตลอดเวลาภายในช่องปาก ซึ่งบางรายอาจรำคาญและทำให้ไม่อยากใส่ฟันปลอมเลยก็เป็นไปได้

การใส่ฟันปลอมก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถทดแทนฟันที่สูญเสียไปที่คนส่วนใหญ่รู้จักกัน ข้อดีคือสามารถทำความสะอาดได้ง่าย มีสีฟันใกล้เคียงธรรมชาติ ใช้เวลาการทำไม่นานมาก และราคาไม่สูง ส่วนข้อเสียคือ ผู้ที่ใส่ฟันปลอมจะไม่ชินกับการใส่ฟันปลอม หากไม่ได้ใส่ฟันปลอมแบบชนิดติดแน่นถาวรก็จะเกิดความรู้สึกรำคาญเพราะฟันปลอมขยับ จากที่ได้กล่าวในข้างต้นว่าเหงือกและกระดูกสามารถปรับเปลี่ยนตัวได้ ก็จะทำให้ฟันปลอมที่ใส่นั้นไม่พอดี รวมถึงทำให้การบดเคี้ยวอาจจะไม่ตอบโจทย์มากนักเพราะการเคี้ยวที่ไม่ละเอียด

อีกหนึ่งการรักษาที่สามารถทดแทนฟันที่สูญเสียไปนั่นก็คือ “การทำรากเทียมหรือการทำฟันปลอมชนิดติดแน่น”

การทำรากเทียมหรือฟันปลอมชนิดติดแน่น

รากฟันเทียม

การทำรากเทียมก็เป็นอีกหนึ่งวิธีแก้ปัญหาสำหรับผู้ที่สูญเสียฟันเช่นกัน ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นสำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุที่กระทบกับฟันบางส่วนและทั้งหมด โดยการทำรากเทียม สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือการทำรากเทียมเพื่อทดแทนฟันทั้งปาก โดยการใช้รากเทียม 4-6 ตัวต่อขากรรไรเพื่อทำหน้าที่ยึดติดระหว่างเหงือกกับฟันปลอมชนิดติดแน่น และการทำรากเทียมบางซี่เพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไป โดยใช้วัสดุแทนรากฟันที่ผลิตจากไททาเนียมที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ ทำให้การใช้งานของฟันซี่ที่เสียไปไม่ต่างจากฟันธรรมชาติเลย และทำให้คนไข้ปรับตัวได้ง่าย ซึ่งการรักษาด้วยวิธีการทำรากเทียมนับได้ว่าเป็นทางเลือกที่ดี เนื่องจากการฝังรากเทียมนี้เป็นการฝังลงเพื่อให้ยึดติดกับขากรรไกรและป้องกันการเคลื่อนที่ของเหงือกที่อาจทำให้ฟันปลอมไม่พอดีอีกด้วย แต่การทำรากเทียมก็มีข้อเสียเช่นกัน คือ ระหว่างการทำรากเทียมนั้นอาจจะใช้ระยะเวลานาน เนื่องจากทันตแพทย์ต้องตรวจเช็กและวินิจฉัยอย่างละเอียดก่อน ว่ากระดูกและเหงือกของคนไข้มีมากพอที่จะสามารถรองรับวัสดุรากเทียมหรือไม่ หากเหงือกไม่สามารถรองรับได้ก็จะต้องใช้วิธีการปลูกกระดูกหรือใช้วิธีการอื่นๆ เพิ่มเติมก่อนการฝังรากเทียม รวมถึงหากคนไข้ไม่พร้อมในเรื่องของการปฏิบัติตนที่ดี เช่น เมื่อทำรากเทียมแล้วแต่ยังมีพฤติกรรมกัดของแข็งหรือยังสูบบุหรี่หนัก ซึ่งเป็นข้อห้ามสำหรับผู้ที่ทำรากฟันเทียมเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นหากผู้ที่ต้องการทำรากเทียมแล้วยังมีพฤติกรรมที่ผิดอยู่ ควรต้องปรับพฤติกรรมของตนเองใหม่ หรือสามารถสำรวจตนเองได้จาก สัญญาณเบื้องต้นที่คุณควร ทำรากฟันเทียม ได้แล้ว ก่อนเข้าปรึกษาทันตแพทย์และเข้ารับการรักษาต่อไป

ไม่ว่าคุณจะเลือกวิธีการรักษาในรูปแบบใดสิ่งที่ควรคำนึงอยู่เสมอคือความพร้อมของแต่ละคนไม่ว่าจะด้วยเรื่องสุขภาพร่างกาย หรือในเรื่องของกำลังของค่าใช้จ่าย สำหรับผู้ที่กำลังมีปัญหาในด้านนี้อยู่ สามารถเข้าปรึกษาและรับคำแนะนำกับทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อเข้ารับการรักษาได้ตรงจุดและแก้ปัญหาสำหรับฟันที่สูญเสียไปได้อย่างทันท่วงที สามารถติดต่อได้ทุกช่องทางหรือติดต่อได้ที่ BFC Dental ทุกสาขา

 

 

 

Recommended Posts