ใส่สะพานฟันหลังทำ รากเทียมทั้งปาก ใน 1 สัปดาห์ ด้วยระบบ Digital Guide

ทำ รากเทียมทั้งปาก พร้อมใส่สะพานฟันได้ใน 1 สัปดาห์ โดยใช้ระบบ Digital Guide มีวิธีการอย่างไร และทำไมถึงสามารถใช้เวลาได้รวดเร็ว BFC Dental มีเคสคนไข้มายกตัวมาอธิบายให้ทราบกัน

ใส่สะพานฟันหลังทำ รากเทียมทั้งปาก ได้อย่างไร

คนไข้ตัดสินใจเข้ารับการรักษาด้วยการทำรากเทียมทั้งปากที่ BFC Dental เนื่องจากคนไข้ได้สูญเสียฟันแท้ทั้งบนและล่างไป หลังจากที่ทันตแพทย์ได้ตรวจสุขภาพช่องปากและฟันแล้ว จึงได้วางแผนการใส่รากเทียมฟันบนจำนวน 5 ตัว และรากเทียมฟันล่างจำนวน 4 ตัว หลังจากการฝังรากเทียมผ่านไป 1 สัปดาห์ ทันตแพทย์จึงนัดคนไข้พบว่ารากเทียมอยู่ในเกณฑ์ปกติและไม่มีอาการติดเชื้อหรืออาการแทรกซ้อนร่วม จึงได้ทำการใส่สะพานฟันที่ทำจากวัสดุพิเศษ ที่เรียกว่า Poly Methyl Methacrylate (PMMA) เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ให้ได้ทั้งความแข็งแรงและความสวยงาม มีความโปร่งแสงและความเงา มีสีและลักษณะที่ใกล้เคียงฟันธรรมชาติ มีความพอดีและกับเหงือกได้เป็นอย่างดี สามารถนำไปเป็นวัสดุในการใส่ฟันในระยะยาวได้อีกด้วย รวมถึงมีขั้นตอนในการสร้างและสามารถซ่อมแซมได้ง่าย

สำหรับการสร้างสะพานฟันที่ใช้วัสดุ PMMA คือจะมีการขึ้นรูปด้วยเทคนิค Milling หรือ การกลึงปริ้นต์ โดยเทคนิคนี้จะมีการออกแบบสะพานฟันด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และจะสามารถทำการกลึงหรือปริ้นต์ชิ้นงานออกมาได้เลย จากในคลิปวิดีโอประกอบ ภาพด้านซ้ายคือภาพชิ้นงานที่อยู่ใน Model ก่อนการใส่ให้คนไข้ และภาพทางด้านขวาคือชิ้นงานหรือสะพานฟันที่ใส่ให้กับคนไข้เรียบร้อยแล้ว โดยขั้นตอนในการออกแบบตัวสะพานฟันด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ไม่ใช่เพียงเป็นการออกแบบเพียงตัวชิ้นงานเท่านั้น แต่เป็นการใช้เพื่อให้เกิดความแม่นยำมากขึ้นว่าชิ้นงานเมื่อใส่กับคนไข้แล้วมีความเข้ากันและความพอดีกับคนไข้ได้มากน้อยเพียงใด

เมื่อสังเกตจากภาพทางด้านขวาหลังจากที่ใส่ตัวสะพานฟันให้กับคนไข้แล้วจะมีความพอดีเหมือนใน Model ชิ้นงานของภาพด้านซ้ายมือ และดูเป็นธรรมชาติ ซึ่งขั้นตอนในการรักษาด้วยการทำรากเทียมและใส่สะพานฟันด้วยระยะเวลาอันสั้นจำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญของทันตแพทย์ การวางแผนการรักษาที่ดี ร่วมด้วยกับการใช้เทคโนโลยีทางทันตกรรมระบบดิจิทัลเข้ามามีส่วนช่วย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Digital Guide หรือไกด์ผ่าตัด 3 มิติในการฝังรากเทียม และการออกแบบสะพานฟันด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผลลัพธ์ของชิ้นงานมีความเหมาะสมกับคนไข้มากที่สุดจึงต้องใช้ความละเอียดและความแม่นยำสูง

Recommended Posts